วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูล

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกที่ก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีนานาประเทศต่างพยายามปรับกลยุทธ์ เพื่อยกระดับศักยภาพของสังคมด้วยการนำเทคโนโลยีร่วมสมัยถึงผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม 4 ด้าน คือ
ด้านความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการขยายขอบเขตของความรู้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้างให้แก่ผู้ศึกษา ค้นคว้า
ผลกระทบประการที่สองคือทำให้เกิดอาชีพใหม่และทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบประการต่อไปคือสังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม รวมทั้งความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม
ผลกระทบประการ สุดท้ายคือการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการศึกษา การดำรงชีวิต ช่วยในการคิด การตัดสินใจ และประหยัดเวลา
เมื่อนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้สามารถแข่งขันในโลกสากล ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในวงการศึกษาเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง ซีดีรอม มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นต้น

บทบาทและคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 ; ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2542)
1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอกาส ให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ในเมือง รวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลของโลก ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย
2) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การที่ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทันเพื่อน ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลายและกว้างขวาง อย่างที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศยังทำให้สื่อทางเสียง สื่อข้อความ สื่อทางภาพ สามารถผนวกเข้าหากัน และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่ว่าจะดึงข้อมูลจากสื่อที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม หรือจากเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัล และการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีประโยชน์ยังสามารถเก็บบันทึกและเรียกใช้ร่วมกันได้จากคลังดิจิทัล (Digital Archive) ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทความจริงเสมือน (Virtual Reality) ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการฝึกอบรม
3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน (Literacy) การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยี สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์
4) บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่าย พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ นอกจากนั้นการสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยสะดวก ความเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบแผนกระดานข่าว (Bulletin Board) และกลุ่มอภิปราย (Discussion Groups) ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไป

โดยสรุปเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนสัมพันธ์หรือเอื้อต่อการศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร และการบริการสังคม

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา

การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจัดว่าเป็นการศึกษาที่สำคัญสูงสุดในการเตรียมนิสิตให้มีความรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยปัญญา การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงอย่างเป็นระบบ จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาทุกหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นระดับมหาบัณฑิตทั้งแผน ก และแผน ข หรือระดับดุษฎีบัณฑิตทั้งแบบ 1 และแบบ 2 มีข้อกำหนดให้นิสิตต้องทำการวิจัยที่แสดงถึงความคิดริเริ่ม โดยอาจทำในรูปวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในลักษณะโครงการวิจัยขนาดเล็ก นอกจากจะวัดจากตัวมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตแล้ว ยังต้องวัดจากคุณภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการของวิทยานิพนธ์หรือรายงาน/โครงการวิจัยที่นิสิตนักศึกษาได้จัดทำตามข้อกำหนดของหลักสูตรด้วย (สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2546)
การที่จะให้นิสิตนักศึกษาใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนระดับบัณฑิตศึกษาได้นั้น นิสิตจะต้องศึกษาค้นคว้า สร้าง และพัฒนางานวิจัยหรือรายงาน/โครงการวิจัยอย่างจริงจัง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ความรู้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้และติดตามความ ก้าวหน้าในองค์ความรู้ของต่างประเทศ ดังนั้นนิสิตจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา เช่น การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และแหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นอภิมหาขุมทรัพย์ทางปัญญาคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์รวมของข้อมูลทุกสาขาจากทั่วทุกมุมโลก และสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่สำคัญคือนิสิตจะต้องมีทักษะในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ การวิจัยและการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนิสิตจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งการที่จะให้การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ถูกต้อง รวดเร็ว นิสิตจึงควรรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลอีกด้วย และเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการวิจัยหรือการศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง นิสิตจำเป็นต้องมีทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่งคือทักษะการนำเสนอ
4.1 การสืบค้นข้อมูลและการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4.1.1 การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารอยู่มากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะข้อมูลที่มีให้บริการอยู่ในระบบ World Wide Web ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต หากทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่เว็บไซด์ใด นิสิตนักศึกษาสามารถเปิดเว็บไซด์นั้นได้ทันที เช่น ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาสามารถค้นคว้าจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
http://www.moe.go.th กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.onec.go.th สกศ.
http://www.nu.ac.th สำนักหอสมุด/ศูนย์วิทยบริการต่าง ๆ
http://www.tiac.or.th ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย
แต่เนื่องจากข้อมูลในระบบ World Wide Web มีอยู่มากมาย จึงเป็นเรื่องยากที่จะทราบได้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด เครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้นั้น เรียกว่า Search Engine และปัจจุบันนี้ก็มี Search Engines ให้เลือกใช้บริการมากมาย ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลหลายรูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น
http://www.thaifind.com
http://www.ixquick.com
http://www.thaiseek.com
http://www.yahoo.com
http://www.thaiall.com
http://www.lycos.com
http://www.thainame.net/main.html
http://www.netfind2.aol.com
http://www.sanook.com
http://www.excite.com
http://www.google.com
http://www.altavista.com
http://www.aromdee.com
http://www.freestation.com

Search Engines ที่ได้รับความนิยมใช้กันมาก ได้แก่ yahoo, AttaVista, Infoseek, Excite และ Sanook เป็นต้น Search Engines เป็นเครื่องมือสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการสืบค้นข้อมูล เพื่อค้นหา สร้าง และพัฒนางานวิจัย รายงาน หรือโครงการวิจัย ดังนั้นนิสิตนักศึกษาบัณฑิตศึกษาจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ ดังกล่าว

4.1.2 การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทและมีความสำคัญเพิ่มขึ้น การแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันทั่วทุกมุมโลกทำได้ง่ายเพียงแค่ ปลายนิ้วสัมผัส นิสิตนักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอน เพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิได้อย่างทั่วถึงทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว หรือเพื่อประโยชน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบการวิจัย โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า อี-เมล์ (E-mail)
อี-เมล์ เป็นบริการหลักที่ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่นิยมกันมากที่สุด เนื่องจากสามารถพิมพ์ข้อความและส่งจดหมายหรือแนบไฟล์ไปพร้อมกับจดหมายผ่านเครือข่ายไปยังบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ห่างไกลถึงคนละซีกโลกได้ภายในวันเวลาเพียงไม่กี่วินาที จากความสะดวก รวดเร็ว ความประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของอี-เมล์ ทำให้มีการประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ คนทั่วโลกรับ-ส่งอีเมล์กันเป็นจำนวนหลายพันล้านฉบับ สิ่งจำเป็นสำหรับการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีดังต่อไปนี้
1) สมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) ทั้งนี้ก็เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของนิสิตนักศึกษาเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
2) E-mail Address ส่วนตัว เพื่อใช้ในการรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างของ E-mail Address เช่น supanees@nu.ac.th ssengsri@hotmail.com เป็นต้น
3) โปรแกรมที่ใช้ในการรับ-ส่ง E-mail ซึ่งมีด้วยกันหลายโปรแกรมด้วยกัน ลักษณะการใช้งาน E-mail สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
3.1) การใช้งานแบบออนไลน์ (Online) ผู้ใช้จะทำการเชื่อมต่อเข้ากับศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตตลอดเวลาที่ใช้งาน E-mail รวมถึงการเขียนจดหมาย การอ่านจดหมาย การตอบจดหมาย และการส่งจดหมาย ซึ่งก็เท่ากับว่าผู้ใช้จะต้องเสียค่า Usage Time หรือเวลาที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ต ตลอดระยะเวลาของการใช้งาน
3.2) การใช้งานแบบออฟไลน์ (Offline) ผู้ใช้จะทำการเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต ก็ต่อเมื่อต้องการส่งจดหมายออกไป และขณะที่ต้องการรับจดหมายใหม่เท่านั้น ซึ่งในช่วงของการเขียนจดหมาย การอ่านจดหมาย และการตอบจดหมาย ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้าสู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต นับได้ว่าเป็นการประหยัดค่า Usage Time ได้เป็นอย่างดี วิธีการใช้อีเมล์เป็นเรื่องง่ายและสะดวกรวดเร็วมาก เมื่อนิสิตนักศึกษาจะส่งจดหมายถึง ผู้ใดจะต้องทราบ e-mail address ของผู้นั้นก่อน เช่นเดียวกันนิสิตนักศึกษาต้องมี e-mail address ด้วยเช่นกัน โดยจะใช้บริการของเว็บไซด์ใดก็ได้ สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรจะได้รับ e-mail address ส่วนตัวทุกคน ตั้งแต่เข้าศึกษาจนกระทั่งจบการศึกษา โดยใช้รหัสประจำตัว เช่น 9465…….@nu.ac.th (e-mail address นี้ จะใช้ได้เฉพาะขณะมีสถานภาพเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเท่านั้น)

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ e-mail โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหลายรายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น http://www.thaimail.com http://www.hotmail.com http://www.yahoo.com ทั้งนี้บริการจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อที่เก็บข้อมูล ประเภทของบริการเสริมหรือลูกเล่นพิเศษ เป็นต้น

รูปแบบของ e-mail address (ที่อยู่ของ e-mail) มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 คือ ชื่อ e-mail ของผู้รับ (อาจเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ) มักจะเรียกว่า Login Name หรือ Account Name
ส่วนที่ 2 คือ ชื่อเว็บไซด์ของผู้ให้บริการ e-mail หรือ Domain Name คือชื่อเครื่องที่นิสิตมีทะเบียนอยู่ (เช่น supanees@nu.ac.th)
ทั้ง 2 ส่วน จะถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย @ (at=แอท) ดังนั้นหากนิสิตจะบอกชื่อ e-mail address ของตนให้กับผู้รับ นิสิตจะต้องอ่านส่วนที่ 1 แอท ส่วนที่ 2 เช่น ssengsri at thaimail dot com
การส่ง e-mail นั้น แม้ว่านิสิตนักศึกษาจะใช้บริการของเว็บไซด์ใด ส่วนใหญ่จดหมายจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1) From ถ้าเป็นจดหมายที่เราพิมพ์ออกไป ก็จะหมายถึงชื่ออีเมล์ของเรา ซึ่งโปรแากรมส่งอีเมล์มักพิมพ์อัตโนมัติให้ หรือถ้าเป็นจดหมายที่เรารับเข้ามาก็จะเป็นชื่ออีเมล์ของผู้ส่งจดหมายมาให้
2) To หมายถึง อีเมล์ผู้รับปลายทาง ผู้ส่งต้องรู้ชื่ออีเมล์ที่สะกดถูกต้องของผู้รับด้วย ไม่ฉะนั้นอาจมีการส่งจดหมายผิดหรือจดหมายอาจตีกลับโดยอัตโนมัติ ถ้าไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า นอกจากนี้ในการส่งจดหมายนั้นอาจส่งถึงหลาย ๆ คนพร้อมกันได้ในครั้งเดียวก็ได้
3) Subject หมายถึง หัวเรื่องที่จะพูดคุยเป็นหัวข้อสรุปเนื้อความในจดหมาย
4) CC (Carbon Copy) หมายถึง การสำเนาจดหมายเดียวกันนี้ถึงชื่ออีเมล์ผู้อื่นให้รับทราบด้วย
5) BCC (Blind Carbon Copy) สำเนาจดหมายเดียวกันนี้ถึงชื่ออีเมล์ผู้อื่นให้รับทราบคล้าย CC แต่จะซ่อนชื่ออีเมล์ผู้รับไม่ให้ใครเห็น
6) Attachment หมายถึง การแนบเอกสารอื่นไปพร้อมกับอีเมล์ เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง เป็นต้น โดยจะระบุถึงชื่อไฟล์ที่ต้องการแนบไปกับอีเมล์นี้
7) Body หมายถึง พื้นที่สำหรับเนื้อความของจดหมาย ให้ผู้ใช้พิมพ์ข้อความจดหมายได้ทันที
8) Signature หมายถึง ข้อความสำหรับลงท้ายจดหมาย ซึ่งเจ้าของอีเมล์นั้น ๆ สามารถกำหนดขึ้นเองได้ โดยพิมพ์ไว้เพียงครั้งเดียวในส่วนของซิกเนเจอร์ มักนิยมใช้กับคำขอบคุณ ชื่อผู้ส่ง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ แล้วโปรแกรมจะแทรกซิกเนเจอร์ ต่อท้ายเนื้อความให้โดยอัตโนมัติ
9) New Message หรือ Compose เริ่มเขียนจดหมายใหม่
10) Reply ใช้ในกรณีที่ต้องการตอบจดหมายฉบับที่กำลังอ่าน
11) Reply to all ใช้ในกรณีที่ต้องการตอบจดหมายฉบับที่กำลังอ่านอยู่ แต่จดหมายฉบับนั้นมีผู้รับหลายคน และถ้าผู้อ่านต้องการตอบจดหมายถึงผู้รับทุกคน รีพลายทูออล จะคัดลอกชื่อ ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับอีเมล์ฉบับนี้ ให้ได้รับเมล์ตอบพร้อมกันด้วย
12) Forward ส่งจดหมายฉบับที่กำลังอ่าน ต่อไปให้ผู้อื่น
13) Delete ลบจดหมายฉบับที่กำลังอ่านออกจากตู้จดหมาย
14) Send ใช้ในกรณีที่ต้องการให้โปรแกรมส่ง (Send) จดหมาย
15) > (เครื่องหมายมากกว่า) มักจะพบในส่วนเนื้อความของจดหมาย คือถ้าเป็นจดหมายที่ตอบโดยใช้ Reply โปรแกรมจะสำเนาข้อความเดิมมาไว้ในจดหมายที่กำลังจะส่งด้วย โดยมีเครื่องหมาย ">" นำหน้าทุกบรรทัด เพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่ข้อความใหม่

วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ Google

1 Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back….(พูดง่ายๆ คือค้นหาแบบแยกคำ)

2 การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำ A และ คำ B (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้มารวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation London OR paris คือ หาทั้งใน London และ Paris

3 Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the ,to , of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขี้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่ข้างหน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back + to nature หรือ final fantasy + x

4 Google สามารถกับขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย

5 Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่นคำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass – music หมายคามว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น “front mission 3” – filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF

6 การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย * * เช่น *Breath of fire lV

7 Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็นภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า “ Translate this page “ ด้านข้างชื่อเว็บ)

8 Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ PDF)Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ PS)Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)Microsoft powerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น “Chrono Cross’ filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chromo Cross ที่เป็น pdf และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)

9 Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)

10 Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน(โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกันใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลงหาข้อมูลการวิจัยความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมาย ในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword

11 Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ UEL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้

12 Google สามารถค้นหาเว็บทีจำเพระเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Standford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu

13 ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I’m Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหาส่งให้คุณเลย(link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I’m Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย

14 Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ

15 Google สามารถ หาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์ First name (or first initial) , last name, city (state is optional)First name (or first initial) , last name, stateFirst name (or first initial) , last name, area codeFirst name (or first initial) , last name, zip codePhone number, including area codeLast name, city, state Last name, zip code แล้วแต่ว่าจะใช้แบบไหน

16 Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)

17 Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือกใน Google ไทย
ที่มา http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit2_p01.html